ริดสีดวงทวาร อาการกับการรักษา
ริดสีดวงทวาร
ริดสีดวงทวารเป็นโรคที่เกิดจากการอักเสบ บวม ของหลอดเลือดดำในช่องทวารหนักบริเวณลำไส้ใหญ่ส่วนปลายที่ติดอยู่กับทวารหนัก เมื่อผนังหลอดเลือดยืดตัวจนกลายเป็นก้อนโป่งนูนคล้ายติ่งเนื้อปูดพองออกมาเป็นหัว เราเรียกว่าหัวริดสีดวง ซึ่งอาจพบหลายหัวได้ทั้งภายนอกปากทวาร (ริดสีดวงภายนอก)และอยู่ลึกเข้าไปในปากทวารหนัก (ริดสีดวงภายใน)
สาเหตุของโรค
เนื่องจากหลอดเลือดดำที่อยู่ใต้เยื่อเมือกและผิวหนังบริเวณส่วนต่อลำไส้ใหญ่และทวารหนักมีการยืดตัวจนถึงปูดพองเป็นหัวจากภาวะความดันในหลอดเลือดดำสูงจากสาเหตุต่างๆ อาทิ การกินอาหารที่มีกากใยน้อย, ท้องผูกบ่อย, การเบ่งถ่ายอุจจาระจนเป็นนิสัย, การกดทับจากการนั่งนานๆ, มีน้ำหนักตัวมาก หรือจากภาวะตั้งครรภ์, การไอเรื้อรัง เป็นต้น ดังนั้นริดสีดวงทวารจึงมีโอกาสเกิดขึ้นได้หลายแห่ง อาการและความรุนแรงจึงต่างกัน
อาการของโรคและบริเวณที่เกิดอาการ
โรคริดสีดวงทวารแบ่งออกเป็น 2 ประเภท ขึ้นอยู่กับบริเวณที่พบสามารถเกิดขึ้นได้ทั้งภายในและภายนอก เป็นโรคที่พบได้บ่อย เป็นๆหายๆ และสามารถกลับเป็นได้อีกเมื่อมีอาการท้องผูกเรื้อรัง หรือกรณีตั้งครรภ์
ริดสีดวงทวารภายใน จะเกิดขึ้นภายในทวารหนัก บริเวณรอยต่อระหว่างลำไส้ตรงกับทวารหนักส่วนบน (Dentate Line) มักจะมองไม่เห็น และไม่รู้สึกเจ็บ หากมีอาการเจ็บซึ่งบางรายมีโอกาสเป็นได้ทั้งภายในและภายนอกในเวลาเดียวกัน
หากมีอาการ คัน ปวดบริเวณทวารหนัก กลั้นอุจจาระไม่อยู่ หรือมีเลือดพุ่งขณะเบ่ง หรือเลือดหยดขณะถ่าย หรือปนมากับอุจจาระ แต่ไม่มีอาการปวดแสบรูทวาร อาจเป็นอาการของโรคริดสีดวงทวารภายในระยะแรก หากมีก้อนเนื้อปลิ้นออกมาขณะเบ่งถ่าย หรือหลุดออกมาข้างนอกและจะปวดรุนแรงทำให้นั่งหรือยืนก็เจ็บ เมื่อพบอาการเช่นนี้ควรรีบไปพบแพทย์
การตรวจวินิจฉัยโรคริดสีดวงภายใน
จำเป็นที่แพทย์จะตรวจและวินิจฉัยอย่างละเอียดด้วยการใช้กล้องส่องทวารหนัก รวมถึงการตรวจดูปากทวารและบริเวณใกล้เคียงด้วยตาเปล่าและการใช้นิ้วสอด เพื่อให้แน่ใจว่าอาการเลือดออกนี้ไม่ได้เกิดจากความผิดปรกติ หรืออาการคล้ายคลึงจากโรคอื่นๆ เช่น โรคลำไส้อักเสบ โลหิตจาง ความผิดปรกติของหลอดเลือดในลำไส้ตรง หรือแม้กระทั่งโรคมะเร็งลำไส้ใหญ่ เป็นต้น ซึ่งแพทย์อาจต้องตรวจระบบลำไส้ใหญ่ทั้งหมดหากผู้ป่วยมีอาการสุ่มเสี่ยงเกินกว่าการเป็นโรคริดสีดวง โดยเฉพาะผู้ป่วยมี่มีอายุ 40 ขึ้นไป
โรคริดสีดวงทวารภายในแบ่งระยะที่เป็นมี 4 ระยะด้วยกัน
• ระยะที่ 1 มีริดสีดวงขนาดเล็กอยู่บริเวณช่องทวารหนักเท่านั้น ระยะนี้จะมองไม่เห็นและไม่มีอาการเจ็บปวดใดๆ
• ระยะที่ 2 ริดสีดวงเริ่มมีขนาดใหญ่ขึ้นกว่าเดิม เมื่อมีการเบ่งหรือถ่ายอุจจาระติ่งเนื้อจะยื่นออกมา และหดกลับเข้าไปด้านในเอง
• ระยะที่ 3 มีติ่งเนื้อหรือหัวปลิ้นออกมาจากทวารหนักขณะเบ่งถ่ายอุจจาระ สามารถใช้นิ้วดันกลับเข้าไปได้
• ระยะที่ 4 เป็นก้อนริดสีดวงขนาดใหญ่ที่ยื่นออกมาจากทวารหนักอย่างถาวร และไม่สามารถดันกลับเข้าไปด้านใน
ริดสีดวงทวารภายนอก เมื่อมีการไหลคั่งของหลอดเลือดดำจนแข็งตัวกลายเป็นลิ่มเลือด จนเกิดเป็นตุ่มนูนภายนอกบริเวณปากทวารหนัก เมื่อเอามือคลำหรือส่องดูจะพบก้อนเนื้อปูดออกมาเป็นหัว เมื่อเป็นมากสามารถเกิดขึ้นหลายๆหัวบริเวณเดียวกันได้ หรือกระจายไปหลายๆที่รอบๆปากทวารหนัก ถ้าเป็นติ่งเนื้อยื่นออกมาแล้วดันกลับเข้าไปได้จะถือว่าเป็นริดสีดวงทวารภายใน
โรคริดสีดวงทวารภายนอก เมื่อเริ่มเป็นจะรู้สึกได้จากอาการเบ่งขณะถ่าย หรือเจ็บ คันเวลานั่งนานๆ เนื่องจากเส้นเลือดดำบริเวณเยื่อบุทวารหนักจะไวต่อการเจ็บปวด คอยสังเกตเมื่อถ่ายหากมีอุจจาระแข็ง ต้องเบ่งแรงเป็นเวลานาน และมีอาการท้องผูกบ่อยๆ การเบ่งแรงๆอาจทำให้เยื่อเมือกปากทวารฉีกขาดและริดสีดวงแตกได้ อย่ารอให้หัวริดสีดวงแตกแล้วถึงไปพบแพทย์ สังเกตอาการแต่เนิ่นๆจากการขับถ่ายทุกวัน
โรคริดสีดวงทวาร สามารถเป็นแล้วหาย และกลับมาเป็นซ้ำได้อีก หากผู้ป่วยไม่ปรับพฤติกรรมการกินและการขับถ่าย
การดูแลตนเองเมื่อเป็นโรคริดสีดวงทวาร
– การใช้ Ice Pack แบบเจลประคบเย็นจะช่วยบรรเทาอาการอักเสบบวมของติ่งเนื้อ
– การนั่งแช่น้ำอุ่น หรือที่เรียกว่า Sitz Bath (40 C) ในอ่างประมาณ 10-15 นาที วันละ 2-3 ครั้งเพื่อให้กล้ามเนื้อคลายตัว ลดอาการปวด บวมของแผลได้ดีโดยเฉพาะหลังเบ่งถ่ายอุจจาระ
– การรับประทานยาแก้ปวด เป็นการบรรเทาอาการเจ็บปวดที่ก่อให้เกิดความรำคาญหรือระคายเคืองเท่านั้น ยาแก้ปวดไม่สามารถรักษานิดสีดวงทวารให้หายได้
– การใช้ Petroleum Jelly เพียงเล็กน้อยบริเวณรอบในปากทวาร จะช่วยลดอาการเจ็บขณะถ่ายได้ ไม่ควรเบ่งอุจจาระแรง
– การใช้ยาทาเฉพาะที่ เช่น ครีมที่มีส่วนผสมของ Hydrocortisone เพื่อบรรเทาอาการปวดและคันบริเวณติ่งที่ยื่นออกมาข้างนอก ใช้ทาก่อนขับอุจจาระ สามารถหาซื้อตามร้านขายยา ทั่วไปเพื่อบรรเทาอาการเบื้องต้นได้ อาการจะหายไปภายในสัปดาห์ เมื่อไม่หายควรรีบพบแพทย์
– การใช้ยาเหน็บทวาร โดยเหน็บวันละ 2 ครั้ง (เช้า, ก่อนนอน ควรใช้หลังถ่ายอุจจาระ)
– การดูแลตนเองที่บ้านด้วยการปรับพฤติกรรมการกินและการใช้ชีวิต
หากอาการที่เป็นดังกล่าวไม่บรรเทาลง แต่กลับรุนแรงขึ้นเรื่อยๆ ควรรีบไปพบแพทย์ซึ่งการรักษาอาจมีตั้งแต่…
– การใช้ยางรัดเพื่อห้ามเลือดไม่ให้เข้าไปหล่อเลี้ยงบริเวณนั้น 5-7 วันจนฝ่อและหลุดออก (พบแพทย์)
– การฉีดยาให้หัวริดสีดวงฝ่อ และหลุดไป ซึ่งต้องใช้การฉีดซ้ำ วิธีนี้จะสะดวก และปลอดภัย แต่มีโอกาสกลับมากำเริบใหม่ได้
– การใช้ไฟฟ้าจี้ หรือแสงเลเซอร์ยิงผ่าตัดเป็นการทำลายเนื้อเยื่อที่ได้ผลเร็วและดี
– การรักษาด้วยการผ่าตัดเอาริดสีดวงออก จะใช้ต่อเมื่อผู้ป่วยมีอาการรุนแรงหรือมีภาวะแทรกซ้อน ซึ่งเป็นส่วนน้อยมาก
การป้องกันการเกิดโรคซ้ำ
โรคริดสีดวงทวารมีโอกาสเกิดได้กับทุกคน แต่จะพบมากในคนที่มีอายุ 40 ปีขึ้นไป เนื่องจากระบบการย่อยและการขับถ่ายที่ไม่เป็นปรกติ โรคนี้ไม่ใช่โรคร้ายแรง สามารถหายได้ และกลับมาเป็นใหม่ได้อีก
หากดูแลรักษาสุขภาพให้ระบบขับถ่ายทำงานอย่างเป็นปรกติ จะสามารถป้องกันโรคแทรกซ้อนที่ตามมาจากปัญหาการย่อยและการขับถ่ายได้ อาทิ โรคโลหิตจาง โรคมะเร็งลำไส้ใหญ่ โรค IBS (Irritable Bowel Syndrome)
• หลีกเลี่ยงอาการท้องผูก โดยการรับประทานอาหารที่มีกากใยมากๆ หลีกเลี่ยงเนื้อสัตว์ที่ย่อยยาก หลีกเลี่ยงอาหารที่ระคายเคืองทางเดินอาหาร เช่น ดื่มน้ำอย่างน้อยวันละ 8 แก้ว
• ฝึกขับถ่ายให้เป็นเวลา อย่านั่งถ่ายนานจนเป็นนิสัย หรือเบ่งอุจจาระแรงๆ ไม่ควรกลั้นอุจจาระ เพราะจะทำให้ลำไส้หมักหมม อุจจาระจะยิ่งแข็ง ขับถ่ายได้ยากขึ้น
• หากยังถ่ายไม่ออก ให้รับประทานยาระบายช่วย หรือสวนล้างลำไส้
• พยายามออกกำลังกายหรือนวดบริเวณช่องท้องอยู่เสมอ เพื่อกระตุ้นระบบขับถ่ายให้ทำงานได้ดียิ่งขึ้น
การรักษาด้วยยาทาและยาเหน็บ
ดูปร๊อค (DOPROCT) เป็นยารักษาริดสีดวงทวาร และบรรเทาอาการปวดที่ทวารหนัก ช่วยลดระคายเคือง ลดคัน
ชนิดเหน็บทวาร (Doproct suppository)
ยาเหน็บ 1 แท่ง ประกอบด้วย
Hydrocortisone Acetate 7.5 mg ใช้ในการบรรเทาอาการอักเสบ ลดคัน
Zinc Oxide 250.0 mg เป็นยาสมานแผล ลดอาการระคายเคือง
Benzocaine 40.0 mg เป็นตัวยาชาเฉพาะที่ ช่วยบรรเทาอาการเจ็บปวด
วิธีการใช้ยาเหน็บ
1.นอนตะแคงแล้วพับเข่าด้านบนไปที่หน้าอก ส่วนขาด้านล่างเหยียดตรง
2. ผ่อนคลาย ไม่เกร็งกล้ามเนื้อก้น เพื่อให้ง่ายต่อการสอดยาเหน็บทวาร
3. นำปลายแหลมค่อยๆสอดทวารหนัก ค่อยๆดันเม็ดยาเข้าไปให้พ้นหูรูดทวารหนัก ให้ลึกที่สุดเท่าที่จะทำได้
4.นอนท่าเดิม โดยปิดช่องทวารหนักไว้ ประมาณ 15 นาที ไม่ลุกไปไหน เนื่องจากเม็ดยาจะหลุดออกมาได้ หากเหน็บยาให้เด็ก ควรใช้มือบีบแก้มก้นเอาไว้ ป้องกันเม็ดยาหลุด
5.ล้างมือให้สะอาด
ชนิดทาภายนอก (Doproct ointment)
ยาขี้ผึ้ง 1 กรัม ประกอบด้วย:
Hydrocortisone Acetate 5 mg ใช้ในการบรรเทาอาการอักเสบ ลดคัน
Zinc Oxide 200 mg เป็นยาสมานแผล ลดอาการระคายเคือง
Benzocaine 10 mg เป็นตัวยาชาเฉพาะที่ ช่วยบรรเทาอาการเจ็บปวด
ข้อแนะนำ ยาเหน็บควรใช้ร่วมกับยาทาจะให้ผลดีมาก
ทำความสะอาดบริเวณที่เป็น
ภายใน: ใช้ยาเหน็บทวารหนัก วันละ 1 – 2 ครั้ง
ภายนอก: ทาบริเวณที่เป็น ทาซ้ำบ่อยๆต่อเนื่องเป็นเวลา 1 เดือนหัวริดสีดวงจะค่อยๆตายและฝ่อไปเอง