หมวดหมู่: <span>Health Topics</span>

อาการติดเชื้อในช่องคลอด

ตกขาวติดเชื้อ

 

โรคติดเชื้อในช่องคลอด ที่พบบ่อยมากที่สุด คือ การติดเชื้อจากเชื้อราและแบคทีเรียในช่องคลอด

ซึ่งเชื้อโรคทั้งหลายนี้จะอาศัยอยู่ปรกติในปาก ระบบทางเดินอาหาร บนผิวหนังของคนเรา รวมถึงในช่องคลอดของผู้หญิงด้วย โดยไม่ทำให้เกิดโรคแต่อย่างใด แต่หากร่างกายมีภูมิความต้านทานโรคต่ำ หรือในผู้หญิงมีภาวะอับชื้นบริเวณช่องคลอดเป็นเวลานานจนทำให้เชื้อเหล่านี้ก่อตัวมากขึ้นจนก่อโรคอื่นๆเข้าสู่ร่างกายผ่านช่องคลอดหรือบริเวณอวัยวะเพศได้

ผู้ติดเชื้อในช่องคลอดมีอาการอย่างไร?

โดยธรรมชาติของผู้หญิงวัยเจริญพันธุ์มักจะมีมูกเหลวใสถึงขุ่นข้น หรือที่เรียกกันว่า “ตกขาว” ถูกขับออกมาจากช่องคลอดอย่างเป็นปรกติ ซึ่งไม่น่าเป็นห่วง  หากแต่อาการ “ตกขาว” ของผู้ติดเชื้อในช่องคลอดจะมีอาการคันบริเวณอวัยวะเพศและภายในช่องคลอด ตกขาวที่ผิดปรกติจะมีสีที่ขุ่นข้น ขาวขุ่นไปจนเขียวคล้ายหนองซึ่งจะมีกลิ่นตามมาคล้ายนมบูดหรือปลาเค็มในปริมาณที่มากกว่าปรกติ และจะมีอาการแสบเวลาถ่ายปัสสาวะและบวมแดงบริเวณอวัยวะเพศ     

 

การตรวจสอบตกขาวผิดปรกติด้วยตนเอง

ก่อนอื่นภาวะ”ตกขาวเรียกได้ว่าเป็นภาวะปรกติธรรมชาติที่เกิดขึ้นได้กับเพศหญิงทุกคนตั้งแต่เริ่มมีประจำเดือน อาการใดที่บ่งบอกได้ว่าภาวะตกขาวที่เกิดขึ้นไม่ใช่ภาวะปรกติไปจนถึงอาการรุนแรงถึงขั้นติดเชื้อและมีโอกาสเสี่ยงต่อการเป็นมะเร็งระบบอวัยวะสืบพันธุ์

 

การตรวจสอบตกขาวผิดปกติด้วยตนเอง ไม่ใช่เรื่องยาก หากพิจารณาจากสีและเนื้อสัมผัสของตกขาวผิดปรกติ สามารถบ่งบอกได้ในเบื้องต้นเกี่ยวกับที่มาของปัญหาตกขาวผิดปรกติได้ดังต่อไปนี้

 

What Are Medicines? What Are Drugs?

Medicines, often referred to as drugs, can be:

  • Prescriptions. What you can get only with a doctor’s order (for example, pills to lower your cholesterol or an asthma inhaler)
  • Over-the- counter pills, liquids, or creams. What you buy without a prescription (for example, pills for headaches or chew tablets for heartburn)
  • Vitamins, eye drops, or dietary supplements.Make sure your doctor knows about ALL the medicines you take. This includes those prescribed by other doctors, as well as vitamins, supplements, and over-the- counter drugs you use every now and then.

ตกขาวกับการดูแลตนเอง

ตกขาว (Vaginal Discharge)

ตกขาว (Vaginal Discharge) หรือระดูขาว คือ สารคัดหลั่งที่ถูกขับออกมาจากช่องคลอดเพื่อสร้างความชุ่มชื้น ส่วนใหญ่เป็นมูกใสบางๆ คล้ายแป้งละลายน้ำ มีลักษณะเป็นสายๆ หรือหยดเล็กๆ อาจมีลักษณะเหนียวนิดๆ และอาจมีเยื่อเมือกปะปนอยู่ด้วย แต่ไม่จำเป็นต้องมีสีขาวใสเสมอไป อาจมีสีขาวขุ่นคล้ายนม และโดยปกติแล้วจะไม่มีกลิ่น แต่ก็อาจมีกลิ่นได้บ้างเล็กน้อย ซึ่งถือเป็นภาวะตกขาวปกติ (Physiologic Vaginal Discharge) โดยผู้หญิงเมื่อย่างเข้าสู่วัยสาวหรือวัยเจริญพันธุ์ การมีสารคัดหลั่งถูกขับออกมาจากช่องคลอด ซึ่งเป็นกระบวนการตามธรรมชาติที่มีความสำคัญในการช่วยทำความสะอาดช่องคลอด

ส่วนตกขาวผิดปกติ (Pathologic Vaginal Discharge) ซึ่งมักมีสาเหตุจากอาการอักเสบ, การติดเชื้อ, เนื้องอก, การแพ้สารเคมีหรือยา การบาดเจ็บของอวัยวะสืบพันธุ์ และฝีคัณฑสูตร โดยภาวะตกขาวผิดปกติ นอกจากจะมีสีอื่นๆ ที่แตกต่างไปจากตกขาวปกติแล้ว ที่สำคัญก็คือ จะมีกลิ่นฉุนจัดหรือเหม็นคล้ายปลาเค็ม

โดยทั่วไป ภาวะตกขาวปกติมักไม่มีอาการอื่นๆ ร่วมด้วย เป็นต้นว่า คัน แสบร้อนช่องคลอดหรือช่องคลอดบวม อย่างไรก็ตาม หากอากาศภายนอกร้อนหรือชื้นและหากประกอบกับใส่กางเกงในที่ทำจากใยสังเคราะห์ หรือใส่กางเกงผ้าหนาๆ เช่น ยีนส์ ก็อาจทำให้ช่องคลอดเกิดการระคายเคืองและคันขึ้นได้

ในสตรีวัยมีประจำเดือน เป็นเรื่องปกติกับการมีตกขาวปริมาณราวๆ 1 ช้อนชาทุกวัน อย่างไรก็ตาม ในช่วงตกไข่จะมีปริมาณตกขาวมากขึ้น โดยมักมีลักษณะคล้ายไข่ขาว ทั้งนี้เพื่อรองรับในการช่วยให้ตัวอสุจิหรือสเปิร์มของเพศชายผ่านเข้ามาผสมกับไข่หรือการปฏิสนธิ นอกจากนี้ ในภาวะที่สตรีเกิดการกระตุ้นความต้องการทางเพศ ก็จะมีตกขาวปกติลักษณะเป็นมูกใสบางๆ หลั่งออกมาเพื่อทำหน้าที่เป็นสารหล่อลื่นปกป้องช่องคลอดในระหว่างการมีเพศสัมพันธ์

ส่วนในสตรีตั้งครรภ์ มักมีตกขาวปกติในปริมาณค่อนข้างมากและมีลักษณะค่อนข้างหนาคล้ายแป้งเปียก ขณะที่เมื่อสตรีเข้าสู่วัยหมดประจำเดือน ภาวะตกขาวปกติก็จะหมดไปเนื่องจากฮอร์โมนเอสโตรเจนลดน้อยลง แต่อาจมีภาวะตกขาวผิดปกติเกิดขึ้นได้ เนื่องจากภาวะขาดฮอร์โมนเอสโตรเจนมีผลทำให้ช่องคลอดแห้งและอักเสบง่าย

ภาวะตกขาวผิดปรกติเป็นอาการสำคัญที่นำผู้หญิงมาพบแพทย์เพื่อรับการตรวจทางนรีเวชมากที่สุด ซึ่งแม้ภาวะตกขาวปกติจะหายไปได้เอง ไม่ต้องให้การรักษาใดๆ อย่างไรก็ตาม ภาวะตกขาวปกติทำให้ผู้หญิงจำนวนมากขาดความมั่นใจในบุคลิกภาพ ส่วนภาวะตกขาวผิดปกตินอกจากจะมีปริมาณตกขาวมากขึ้น มีกลิ่นไม่พึงปรารถนา มีอาการคันหรือแสบร้อนช่องคลอด ซึ่งทำให้เกิดความรำคาญ ขาดความมั่นใจในบุคลิกภาพแล้ว การมีตกขาวผิดปกติยังเป็นอาการที่บ่งชี้ถึงการมีช่องคลอดอักเสบจากการติดเชื้อ (Vaginitis) หรืออาจบ่งบอกถึงการมีโรคติดต่อทางเพศสัมพันธ์ เป็นต้นว่า หนองในเทียม และที่ร้ายแรงมากที่สุดคือ ภาวะตกขาวผิดปกติอาจมีสาเหตุมาจากเนื้องอก ซึ่งรวมถึงมะเร็งปากมดลูก

7 ข้อต้องห้ามของน้องสาว

1) เวลาล้างส่วนหน้าและส่วนหลัง ควรแยกกันอย่างสิ้นเชิง ไม่ควรล้างหรือเช็ดไปพร้อมๆ
เพราะแบคทีเรียดีแต่ละส่วนต่างกันและแยกกันอยู่ ไม่ว่าจะเช็ดจากหลังไปหน้า หน้าไปหลัง
โอกาสติดเชื้อมากพอๆกัน รู้ไว้ยังไม่สายนะจ๊ะ
2) ช่องคลอดของเรามีการทำความสะอาดตามวิถีธรรมชาติของมัน การใช้น้ำสบู่เพียงด้านนอกนับว่าเพียงพอแล้วต่อการกำจัดเหงื่อไคลหรือกลิ่นอับชื้น หลีกเลี่ยงการใช้สบู่หรือครีมอาบน้ำที่แต่งกลิ่นเข้มข้น หรือสารเคมีอื่นๆ ที่อาจก่อให้เกิดการแพ้หรือระคายเคืองได้โดยง่าย รวมทั้งสเปรย์ระงับกลิ่นหรือผ้าเปียกที่ใส่กลิ่นหอมต่างๆ
3) น้ำยาล้างช่องคลอดจำเป็นมากแค่ไหน? ยิ่งล้างหรือสวนช่องคลอดก็ยิ่งทำให้ภาวะสมดุลของความเป็นกรดด่างในร่างกายเสียไป หากเป็นเพราะกลิ่นที่ออกมาจากตกขาว การสวนล้างจะยิ่งทำให้แย่ลงกว่าเดิม ควรไปพบแพทย์เพื่อสาเหตุที่แท้จริงว่าช่องคลอดมีการติดเชื้อจากเชื้อโรคประเภทไหนเป็นดีที่สุด
4) การใช้คอนดอมเมื่อเวลามีเพศสัมพันธ์จะเป็นการป้องกันเชื้อโรคที่ส่งผ่านชายสู่หญิงได้อย่างดีที่สุด และที่สำคัญคือควรเปลี่ยนอันใหม่ทุกครั้งเพื่อป้องกันเชื้อโรคเข้าสู่ร่างกายจากช่องคลอดสู่ทวารหนักหรือในทางกลับกัน
5) โภชนาการก็มีส่วนสำคัญ ไม่ควรอดอาหาร ทานอาหารไม่ครบหมู่ การขาดวิตามินหรือแร่ธาตุบางชนิด แม้กระทั่งการดื่มน้ำน้อยเกินไป ทำให้ร่างกายขาดสมดุล ขณะเดียวกันการรับประทานกระเทียมสด โยเกิร์ต หรือน้ำแอ็ปเปิ้ลหมักเป็นประจำยังมีส่วนช่วยให้ร่างกายมีสภาวะต่อต้านการติดเชื้อได้ดีอีกด้วย
6) การใส่กางเกงที่รัดติ้วหรือเลกกิ้งเข้ารูปมันอาจจะทันตามแฟชั่น แต่อาจทำร้ายช่องคลอดของเรา ตกขาวจากการอับชื้น อาจทำให้เกิดกลิ่นไม่พึงประสงค์ ที่ซ้ำร้ายเชื้อโรคจะก่อตัวกันอย่างรวดเร็วทำให้เกิดภาวะตกขาวผิดปรกติขึ้นได้
เหงื่อที่หมักหมม กางเกงในที่รัดและหนาคือฝันร้ายที่สาวๆหลีกเลี่ยงไม่เผชิญกับมันได้ไม่ยาก ลองดูนะคะ!
7) เมื่อมีประจำเดือน ลองสำรวจดูว่าคุณเปลี่ยนผ้าอนามัยหรือแทมพอนบ่อยแค่ไหน มิเช่นนั้นเท่ากับคุณสาวๆกำลังสะสมเชื้อโรคเหล่านั้นอยู่นะคะ เปลี่ยนทุกครั้งเมื่อเข้าห้องน้ำและเมื่อไม่มีประจำเดือนก็ไม่จำเป็นต้องใส่ผ้าอนามัย
พึงจำไว้ทุกครั้งว่าเวลาเปลี่ยนผ้าอนามัยควรทำความสะอาดบริเวณนั้นให้สะอาดและแห้งสนิทเสมอค่ะ